จะเป็นช่างน้อยกันแล้วต้องรู้จักเครื่องมือกันหน่อย (ตอนที่ 1)



จะมีความสุขกับการลงมือทำด้วยตัวเองกันแล้ว แต่แอ๊ะเราจะมีแต่มือเปล่าๆ ไม่ได้

เราจำเป็นต้องมีเครื่องมือกันซะหน่อยครับ มารู้จักเครื่องมือ

สำหรับงานบริการรถยนต์กันก่อนครับ นึกขึ้นได้ มีผู้รู้ได้กล่าวเอาไว้ว่า

"ช่างที่ฝึกฝนฝีมือมายาวนานต่อให้ฝีมือเขาระดับโครตเทพ

แต่ไร้ซึ่งเครื่องมือช่างก็เปรียบเสมือนไม่มีมือแขน"

(ผู้รู้ในที่นี้ก็คือ อาจารย์ผมเองครับ แฮ่ะๆ)

ในงานซ่อมหรือตรวจบริการทุกครั้งมีความ

จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออย่างน้อยที่สุดก็ 1 อย่างแล้ว

ดังนั้นทุกท่านที่มีความสนใจในด้านช่าง

ท่านที่สนใจที่จะทำอะไรๆดีๆเพื่อรถยนต์สุดที่รักของคุณเองมีความ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเครื่องมือบริการช่างยนต์เบื้องต้นเก็บไว้

เพราะนอกจากใช้ในการดูแล ถอด ซ่อมบำรุง แล้ว

เจ้าเครื่องมือที่ท่านซื้อหาเอาไว้ เมื่อถึงคราวจำเป็น

เครื่องมือเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพระเอกเมื่อท่านเดินทางอีกด้วย

ผมจะแนะนำให้ได้รู้จักเครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้น

เผื่อเอาไว้ไปหาซื้อจะได้บอกเถ้าแก่ อาซิ้ม อางือ อาติงส์

ได้ถูกต้องประมาณว่าช่างเทพมาเอง หึหึหึ



เอ๊าเข้าเรื่อง...?


เครื่องมือบริการช่างยนต์





เยอะมากครับ เรามาดูที่ใช้บ่อยๆกัน


เครื่องมือพื้นฐานที่เราๆ ควรมีติดตัวไว้บ้างก็มี...?



ประแจปากตาย ราคาถูก หยิบง่าย ใช้สะดวก



ลักษณะของประแจปากตาย หน้าตามันบื้ๆแบบนี้ล่ะครับ



ใน 1 ตัวจะมีปาก 2 ปาก มีลักษณะของปากคล้ายก้ามปู เรียกันเป็นเบอร์ตามขนาดของปาก


เช่น ประแจปากตายเบอร์ 10 , ประแจปากตายเบอร์ 12, ประแจปากตายเบอร์ 14





ปากคล้ายก้ามปู มีตัวเลขตีเป็นเบอร์ที่ด้ามเพื่อบอกขนาดของปากประแจ






ลักษณะของประแจปากตาย มีขนาดให้เลือกใช้ตามการใช้งาน


ปากของประแจทำมุมเอียง 15 องศา จากแนวด้ามเพื่อให้พลิกตัวใช้งานได้ในที่แคบ


เป็นอุปกรณ์สำหรับคลายชิ้นงานที่ไม่แน่นมาก ใช้งานสะดวก








เทคนิคการใช้ประแจปากตาย


ให้เลือกใช้เบอร์ประแจปากตายให้ตรงกับขนาดของหัวน๊อต เพื่อป้องกันประแจลื่นหลุดออกจาก


หัวน๊อตซึ่งอาจทำให้เหลี่ยมของหัวน๊อตเสียหาย หรือเรียกกันว่า "น๊อตหวาน"


ให้วางปากประแจให้ตรงกับหัวน๊อตให้มากที่สุด


การจับประแจควรใช้อุ้งมือจับ ดึงเข้าหาตัว เพื่อลดอันตราย


บางทีไม่มีมุม ก็สามารถพลักประแจออกจากตัวให้เป็นแนวตรงก็ยอมได้



------------------------------------------------------------------------------


ประแจแหวน เหลี่ยมเยอะ ขันง่าย




ประแจแหวนมีหลายขนาด ให้เลือกใช้ครับ



ลักษณะของประแจแหวน



ลักษณะของประแจแหวน- ในประแจแหวนโดยทั่วไปภายในหัวประแจ


จะมีเหลี่ยม 6 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม


ซึ่งเหลี่ยมเหล่านี้จะขบกับมุมของโบลต์หรือน๊อตได้ดีกว่า ประแจปากตาย


เป็นผลทำให้ ประสิทธิภาพในการขันโบลต์หรือน๊อต


มีความั่นคงปลอดภัยจากการลื่นหลุดขณะที่ออกแรงขันหรือคลายอย่างแรง






ส่วนใหญ่ประแจแหวนจะมีขนาดของหัวประแจทั้ง 2 ด้านเรียงกันมาเพื่อความสะดวก



เทคนิคการใช้ประแจแหวน


เลือกใช้เบอร์ของประแจแหวนให้ตรงกับขนาดของหัวน๊อต


และสวมประแจแหวนลงหัวน๊อตให้สนิท แล้วขันในแนวที่เสมอกับหัวน๊อตสกรู


การจับประแจควรใช้อุ้งมือจับตรงปลายประแจให้เต็มอุ้งมือ ดึงเข้าหาตัว เพื่อลดอันตราย


บางทีไม่มีมุมที่สามารถดึงเข้าหาตัวได้ ก็สามารถพลักประแจเป็นแนวตรงด้วยความระวังก็ยอมได้


---------------------------------------------------------------------------------


ไขควง เห็นกันบ่อยๆ แต่อ๊ะเลือกไงอ่ะ





ไขควงแบนกับไขควงแฉก



ไขควงเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขันหรือคลายสกรู สำหรับไขควงที่ใช้ในงานบริการรถยนต์


มีหลายขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป แล้วแต่ผู้ใช้จะนำไปใช้งานแบบไหนได้อย่างถูกต้อง


สำหรับงานบริการรถยนต์เราก็มีนิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ไขควงปากแบน และไขควงปากแฉก





อันนี้เป็นไขควงสำหรับเช็คไฟ


ใช้เช็คไฟฟ้าว่ามีไฟฟ้าวิ่งผ่านหรือไม่ โดยเอาปลายจิ้มเข้าไปให้รูของปลั๊กไฟ


แล้วก็เอามือสัมผัสตรงด้ามทองเหลืองถ้ามีไฟฟ้าผ่าน


ส่วนที่คล้ายหลอดไฟตรงด้ามจะสว่างครับ


ไขควงแบบนี้ใช้งานหนักไม่ได้นะครับ...+_+





ที่เห็นในรูปเขาเรียกว่า ไขควงสำหรับตอก ครับ


ไขควงแบบนี้ตรงตูดจะมีแกนเหล็กต่อยาวจนไปถึงส่วนหัว


ไขควงชนิดนี้มีความแข็งแรง รับแรงได้ดีพอสมควร



ลักษณะของไขควง


-ไขควงมีให้เลือกใช้หลายขนาด ทั้งความยาวและขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ของปากไขควง


-ส่วนใหญ่ในงานบริการรถยนต์จะเลือกใช้ไขควงขนาด 6 นิ้ว ครับ


-ไขควงจะด้ามไขควงสำหรับเอาไว้ให้มือจับ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยพลาสติกมีรูปทรงต่างๆ


เช่นทรงกระบอกกลม , ทรงกระบอกเหลี่ยม





จะเป็นช่างน้อยกันแล้วต้องรู้จักเครื่องมือกันหน่อย (ตอนที่ 1) จะเป็นช่างน้อยกันแล้วต้องรู้จักเครื่องมือกันหน่อย (ตอนที่ 1) Reviewed by อ.ไอ๊ซ on พฤษภาคม 23, 2553 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.